วันจันทร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
















โรงเรือนสุกรขุน
คอกสุกรขุนนิยมสร้างคอกเป็น 2 แถว มีทางเดินอยู่ตรงกลาง มีรางอาหารออยู่ด้านหน้า ก็อกน้ำอัตโนมัติอยู่ด้านหลังคอก ก็อกน้ำสูงจากพื้นคอกประมาณ 50 เซนติเมตร ขนาดของคอก 4x3.5 เมตร ผนังกั้นคอกสูง 1 เมตร ขังสุกรขุนขนาด 60-100 กิโลกรัม ได้ 8-10 ตัว ส่วนความยาวของโรงเรือนก็ขึ้น อยู่กับจำนวนของสุกรขุนที่เลี้ยงว่าต้องการความยาวของโรงเรือนเท่าใด สุกรขุนถ้าเลี้ยงบนพื้นคอนกรีต จะใช้พื้นที่ประมาณ 1.2-1.8 ตารางเมตร/ตัว
โรงเรือนระบบเปิด หมายถึง โรงเรือนที่ควบคุมสภาวะแวดล้อมตามธรรมชาติ และอุณหภูมิจะแปรไปตามสภาพของอากาศรอบโรงเรือน 
โรงเรือนระบบปิด หมายถึง โรงเรือนที่สามารถควบคุมสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับความเป็นอยู่ของสุกร ได้แก่ อุณหภูมิ ความชื้น การระบายอากาศ และแสงสว่าง สามารถป้องกันพาหะนำโรคได้ โรงเรือนปิด เช่น โรงเรือนอีแว็ป (Evaprative System) เป็นต้น ราคาลงทุนครั้งแรกค่อนข้างแพง แต่สุกรจะอยู่สุขสบายและโตเร็ว

  ด้านการตลาด
     ๑) ทางราชการจะต้องมีมาตรการส่งเสริมให้มีการแปรรูปเนื้อสุกรเป็นผลิตภัณฑ์จากสุกร เพื่อการส่งออกอย่างจริงจัง และมีการแสวงหาช่องทางการตลาดให้ด้วยเป็นพิเศษ
     ๒) ภาครัฐควรมีมาตรการส่งเสริมให้ภาคเอกชนไปลงทุนเพื่อการผลิต และการตลาดในต่างประเทศ โดยเฉพาะในประเทศที่เป็นที่ยอมรับในตลาดโลกด้านสุกรเพื่อใช้แรงงานและอาหารสัตว์บางส่วนจากประเทศไทย ซึ่งจะเป็นการนำเข้าเงินตราต่างประเทศอีกทางหนึ่งด้วย
     ๓) พัฒนาและส่งเสริมให้มีตลาดกลางประมูลสุกร ในทุกเขตส่งเสริมการเลี้ยงสุกร โดยสนับสนุนให้สหกรณ์ผู้เลี้ยงสุกรและภาคเอกชนทั่วไป มีความสะดวกที่จะจัดตั้งตลาดกลางขึ้นและสนับสนุนส่งเสริมให้มีโรงฆ่าสัตว์ที่ทันสมัยดำเนินควบคู่กันไปด้วย
     ๔) ให้เนื้อสุกรชำแหละเป็นสินค้าควบคุมมาตรฐานและทางราชการจะต้องมีมาตรการดูแลไม่ให้ราคาสุกรมีชีวิตตกต่ำกว่าราคาต้นทุน เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในการจัดสรรส่วนเหลื่อมทางการตลาด โดยใช้การจัดการตามสูตร ราคาเนื้อแดง ๑ กก. = (ราคาสุกรมีชีวิต x ๒) + ๒ ซึ่งเป็นที่ยอมรับในวงการค้าสุกร ผนวกกับวิถีตลาดสุกรที่สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรศึกษาไว้แล้ว
     ๕) ระเบียบ กฎหมาย ที่มีอยู่แล้วหรือจะต้องตราขึ้นใหม่ จะต้องให้มีผลปฏิบัติอย่างจริงจังที่จะป้องกันไม่ให้มีการ Dump ราคา โดยของไม่มีคุณภาพหรือมีคุณภาพก็ตาม
โปรแกรมการทำวัคซีน
ปฏิทินการถ่ายพยาธิสุกร
การถ่ายพยาธิสุกรเป็นสิ่งจำเป็นที่ควรทำในสุกรทุกตัว แม้ว่าสุกรตัวนั้นจะไม่เคยสัมผัสกับพื้นดิน หรือกินอาหารสดจากทุ่งหญ้า หรือเศษอาหาร ซึ่งเป็นแหล่งของพยาธิก็ตาม ทั้งนี้เพราะไข่พยาธิและตัวอ่อน อาจติดมากับพาหะ ได้หลายทาง ได้แก่ เศษดินที่ติดมากับรองเท้า การปนเปื้อนมากับอาหารหรืออุปกรณ์ อีกทั้งมากับแมลง เช่น ยุง หรือแมลงวัน ก็ได้
การถ่ายพยาธิภายในของสุกร (Internal parasite) ควรทำครั้งแรกเมื่อลูกสุกรหย่านมได้ สัปดาห์ ก่อนทำวัคซีนต่างๆ และทำซ้ำในระยะขุน เมื่อสุกรถูกย้ายเข้าคอกขุนได้ เดือน อายุประมาณ 12 สัปดาห์ สำหรับสุกรพันธุ์ทดแทนควรถ่ายพยาธิประมาณ สัปดาห์หลังจากย้ายเข้าคอกแม่พันธุ์ ที่อายุ 5 - 6 เดือน และทำครั้งต่อไปทุก เดือน หรือก่อนการเริ่มโปรแกรมการทำวัคซีน สัปดาห์ สำหรับการถ่ายพยาธิภายนอก เช่น โรคขี้เรื้อน (Sarcoptic mange) ควรทำก่อนย้ายแม่สุกรเข้าคอกคลอด เพื่อป้องกันการรบกวนของพยาธิภายนอกในลูกสุกร
วิธีการถ่ายพยาธิ อาจทำได้โดยผสมอาหารหรือการฉีด ยาถ่ายพยาธิที่นิยมได้แก่ Levamisol, Thiophanate, Fenbendazol, Cambendazole, Ivermectin เป็นต้น
นอกจากนี้ นิยมให้ยาถ่ายพยาธิ วันก่อนเริ่มโปรแกรมวัคซีนในแต่ละรอบ
ปฏิทินการให้วัคซีนสุกร
โรคระบาดสำคัญและควรทำวัคซีนป้องกันโรคระบาดตามโปรแกรมวัคซีนในสุกรระยะต่างๆ ดังนี้ โรคอหิวาต์สุกร (Swine fever หรือ Hog cholera) โรคปากและเท้าเปื่อย (Foot and Mouth Disease) โรคพิษสุนัขบ้าเทียม (Pseudo rabies หรือ Aujeszky's disease) โรคพาร์โว ไวรัส (Parvo virus) โรคโพรงจมูกอักเสบ (Atrophic rhinitis) โรคปอดอักเสบจากเชื้อมัยโคพลาสมา หรือเอ็นโซติกนิวโมเนีย (Enzootic Pneumonia)รวมถึงโรคระบาดอื่นๆซึ่งจำเป็นในบางท้องที่ เช่น โรคไฟลามทุ่ง(Swine erysipelas) โรคกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบติดต่อ (Transmissible gastroenteritis) โรคท้องร่วงติดต่อในลูกสุกร (Porcine epidemic diarrhea)
ตัวอย่างโปรแกรมวัคซีน ที่นิยมใช้ (กิจจา, 2537) มีดังนี้

ปฏิทินการทำวัคซีนพ่อพันธุ์  
SF การทำวัคซีนอหิวาต์สุกร ทุก เดือน
PV การทำวัคซีนพาร์โวไวรัส ทุก เดือน
FMD การทำวัคซีนป้องกันโรคปากเท้าเปื่อย ทุก 4-6 เดือน
AD(I) การทำวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้าเทียมด้วยวัคซีนเชื้อเป็น ทุก 4-6 เดือน
ปฏิทินการทำวัคซีนสุกรแม่พันธุ์ 
AD(k) ทำวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้าเทียมด้วยวัคซีนเชื้อตาย สัปดาห์ที่ ก่อนกำหนดคลอด
SF ทำวัคซีนอหิวาต์สุกรสัปดาห์ที่ ก่อนกำหนดคลอด
EP/AR ทำวัคซีนโรคโพรงจมูกอักเสบหรือโรคเอนซูติกนิวโมเนีย สัปดาห์ที่ ก่อน
กำหนดคลอด
FMD ทำวัคซีนป้องกันโรคปากเท้าเปื่อย สัปดาห์ที่ หลังคลอด
AD(I) ทำวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้าเทียมด้วยวัคซีนเชื้อเป็น สัปดาห์ที่ หลังคลอด
PV ทำวัคซีนพาร์โวไวรัส สัปดาห์ที่ หลังคลอด

ปฏิทินการทำวัคซีนลูกสุกร 
SF การทำวัคซีนอหิวาต์สุกรที่อายุครบ สัปดาห์
AD(I)1 การทำวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้าเทียมด้วยวัคซีนเชื้อเป็น ครั้งที่ 1
FMD การทำวัคซีนป้องกันโรคปากเท้าเปื่อย
AD(I)2 การทำวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้าเทียมด้วยวัคซีนเชื้อเป็น ครั้งที่ 2
ถ้าเป็นลูกสุกรพันธุ์ ควรทำด้วยวัคซีนเชื้อตาย
ปฏิทินการทำวัคซีนสุกรทดแทน 
ในสุกรทดแทนจะไม่สนใจว่าเคยทำวัคซีนอะไรมาบ้าง
จะเริ่มทำวัคซีนสุกรที่คัดเลือกที่อายุ 5.5 เดือนขึ้นไป
จัดโปรแกรมวัคซีนเรียงตามลำดับได้แก่ วัคซีนป้องกันอหิวาต์สุกร-SF โรคพิษสุนัขบ้าเทียมวัคซีนเชื้อเป็น-AD(I) โรคปากเท้าเปื่อย-FMD โพรงจมูกอักเสบหรือเอนซูติกนิวโมเนีย-AR/EP และพาร์โวไวรัส 2ครั้ง-PV1-PV2 โดยเว้นช่วงการทำวัคซีนแต่ละครั้ง 7-10 วัน
       

วัตถุดิบอาหารสัตว์
อาหารประเภทโปรตีน ได้มาจากพืชและสัตว์ มีรายละเอียด ดังนี้ อาหารโปรตีนที่ได้จากพืช ได้แก่
        
กากถั่วเหลือง เป็นอาหารโปรตีนจากพืชที่ดีที่สุด ได้มาจากถั่วเหลืองทีสกัดน้ำมันออก มีโปรตีนอยู่ระหว่าง 40-44 % ใช้เป็นอาหารสุกรในรูปของกากถั่วเหลืองอัดน้ำมัน (แผ่นเค็ก) โปรตีนจากกากถั่วเหลืองมีกรดอะมิโนที่จำเป็นสมดุลย์ เหมาะในการใช้เลี้ยงสุกรทุกระยะการเจริญเติบโตในเมล็ดถั่วเหลืองดิบไม่เหมาะแก่การนำมาใช้เลี้ยงไก่ และสุกร ทั้งนี้เพราะเมล็ดถั่วเหลืองดิบมีสารพิษชนิดที่เรียกว่า " ตัวยับยั้งทริปซิน" (Trypsin inhibitor) อยู่ด้วย สารพิษนี้จะมีผลไปขัดขวางการย่อยโปรตีนในทางเดินอาหารถั่วเหลืองที่เหมาะสำหรับใช้ผสมอาหารเลี้ยงสุกรนม อาหารครีพฟีด อาหารสุกรอ่อน อาหารสุกรเล็ก ได้แก่ ถั่วเหลืองอบไขมันสูง (ถั่วเหลืองซึ่งผ่านขบวนการอบให้สุก โดยไม่ได้สกัดน้ำมันออกมี โปรตีน 38 % ) ส่วนสุกรเล็กและสุกรขนาดอื่นทั่วไปนิยมใช้กากถั่วเหลืองสกัดน้ำมันด้วยสารเคมี
        กากถั่วลิสง เป็นผลิตผลพลอยได้จากการสกัดน้ำมันออก มีโปรตีนอยู่ประมาณ 40% กากใช้กาถั่วลิสงอย่างเดียวในอาหารจะทำให้สุกรเจริญเติบโตช้า เนื่องจากความไม่สมดุลย์ของกรดอะมิโน ดังนั้น จึงควรใช้กากถั่วลิสง ถ้ามีความชื้นสูงจะเสียเร็วเนื่องจากถั่วลิสงเป็นพืชที่มีน้ำมันมาก จึงเก็บไว้นานไม่ได้ จะเกิดอาการเหม็นหืนและมีราเกิดได้ง่าย ซึ่งราจะสร้างสารพิษ "อะฟลาท็อกซิน" ซึ่งเป็นอันตรายต่อสัตว์ ดังนั้นควรจะเลือกใช้แต่กากถั่วลิสงที่ใหม่ มีไขมันต่ำ และควรเก็บไว้ในที่ไม่ร้อนและชื้น
        
กากเมล็ดฝ้าย เป็นผลผลิตพลอยได้จากการสกัดน้ำมันออกจากเมล็ดฝ้าย จะมีโปรตีนประมาณ 40-45 เปอร์เซ็นต์ การเมล็ดฝ้ายมีสารพิษที่มีชื่อว่า "ก๊อสซิปอล" ซึ่งเป็นสารที่ละลายในน้ำมัน จึงเป็นเหตุให้การใช้อยู่ในขีดจำกัดไม่ควรเกิน 10 % การใช้ในระดับสูงจะทำให้การเจริญเติบโตช้าลง นอกจากนี้การใช้กากเมล็ดฝ้ายควรจะเติมกรดอะมิโนไลซีนสังเคราะห์ลงไปด้วย
         กากมะพร้าว เป็นวัตถุพลอยได้จากโรงงานสกัดน้ำมันมะพร้าว ถ้าอัดน้ำมันออกใหม่ ๆ จะมีกลิ่นหอมน่ากิน มีโปรตีนประมาณ 20% ถ้าใช้กากมะพร้าวในระดับสูงเลี้ยงสุกรระยะการเจริญเติบโตและขุน จะทำให้การเจริญเติบโตของสุกรช้า ดังนั้นควรจะใช้ในระดับ 10-15 %
         กากเมล็ดนุ่น เมื่อสกัดน้ำมันออกแล้วจะมีโปรตีนประมาณ 20% เหมาะที่จะใช้เลี้ยงสุกรรุ่นมากกว่าสุกรระยะอื่น ในปริมาณไม่เกิน 15% กากเมล็ดนุ่นจะทำให้ไขมันจับแข็งตามอวัยวะภายในร่างกายต่าง ๆ เช่น ลำไส้ เป็นต้น
อาหารโปรตีนที่ได้จากสัตว์ ได้แก่
         ปลาป่น เป็นอาหารโปรตีนที่ได้จากสัตว์ที่ดีที่สุด มีโปรตีนอยู่ระหว่าง 50-60 % คุณภาพของปลาป่นขึ้นอยู่กับชนิดของปลาที่ใช้ทำปลาป่น และสิ่งอื่นปะปนมากน้อยแค่ไหน รวมทั้งกรรมวิธีการผลิตปลาป่น เช่น ถ้าให้ความร้อนสูง ทำให้คุณค่าทางอาหารต่ำลง ปริมาณกรดอะมิโนในปลาป่นจะต่ำลงเรื่อย ๆ ปลาป่นมีคุณค่าทางอาหารสุงและใช้เลี้ยงสุกรตลอดระยะถึงส่งตลอดระยะถึงส่งตลาดจะทำให้เนื้อมีกลิ่นคาวจัด ดังนั้นจึงควรใช้ในระหว่าง 3-15 %
       เลือดแห้ง ได้จากโรงฆ่าสัตว์ มีโปรตีนค่อนข้างสูง 80% เป็นโปรตีนที่ย่อยยาก ทำให้การเจริญเติบโตของสุกรต่ำลง ควรใช้ร่วมกับอาหารโปรตีนชนิดอื่น ๆ ไม่ควรเกิน 5%
         หางนมผง มีโปรตีนปริมาณ 30-40 % และเป็นโปรตีนที่ย่อยง่ายแต่มีราคาแพง จึงนิยมใช้กับอาหารลูกสุกรเท่านั้น
         ขนไก่ป่น เป็นอาหารที่ได้จากผลิตผลพลอยได้จากโรงงานฆ่าไก่ มีโปรตีนค่อนข้างสูงถึง 85% แต่มีคุณค่าทางอาหารเพียงเล็กน้อย เนื่องจากเป็นโปรตีนที่ไม่สามารถย่อยได้
อาหารประเภทคาร์โบไฮเดรท(แป้งและน้ำตาลให้พลังงาน)
         ปลายข้าว ปลายข้าวและรำละเอียดเป็นผลิตผลพลอยได้จากการสีข้าว ปลายข้าวมีโปรตีน 8% เป็นวัตถุดิบอาหารที่เหมาะในการเลี้ยงสัตว์ ทั้งนี้ปลายข้าวประกอบไปด้วยแป้งที่ย่อยง่ายเป็นส่วนใหญ่ มีไขมันและเยื่อใยระดับด่ำ (1.0 %) เก็บไว้ได้นาน ตรวจสอบการปลอมปนได้ง่าย ปลายข้าวที่ใช้เลี้ยงสุกร ควรเป็นปลายข้าวเม็ดเล็กปลายข้าวที่มีขนาดใหญ่ควรจะต้องบดให้มีขนาดเล็กลงก่อน แล้วจึงค่อยผสมอาหาร นอกจากนี้ยังมีปลายข้าวนึ่ง (ข้าวเปลือกที่เปียกน้ำ หรือมีความชื้นสูง นำมาอบเอาความชื้นออก สีเอาเปลือกออก ปลายข้าวนึ่งมีสีเหลืองอ่อนหรือสีขาวปนเหลือง) นำมาเลี้ยงสุกรทดแทนปลายข้าวได้ แต่ต้องพิจารณาเรื่องคุณภาพด้วย เช่น การปนของเมล็ดข้าวสีดำ ซึ่งเมล็ดข้าวสีดำมีคุณภาพไม่ดี
        
รำละเอียด มีโปรตีนประมาณ 12% รำละเอียดมีไขมันเป็นส่วนประกอบอยู่ในระดับค่อนข้างสูง และเป็นไขมันที่หืนได้ง่ายในสภาวะที่อากาศร้อน หากเก็บไว้เกิน 60 วัน ไม่เหมาะที่จะนำมาใช้เลี้ยงสัตว์ รำละเอียดมักจะมีการปลอมปนด้วยแกลบป่น ละอองข้าวหรือดินขาวป่น ทำให้คุณค่าทางอาหารต่ำลง ถ้าเป็นรำข้าวนาปรังควรระวังเรื่องยาฆ่าแมลงที่ปะปนมาในระดับสูง รำสกัดน้ำมันได้จากการนำเอารำละเอียดไปสกัดเอาไขมันออกใช้ทดแทนรำละเอียดได้ดีแต่ต้องระวังเรื่องระดับพลังงาน เพราะรำสกัดน้ำมันมีค่าพลังงานใช้ประโยชน์ได้ต่ำกว่ารำละเอียด รำละเอียดมีเยื่อใยเป็นส่วนประกอบในระดับสูง จึงมีลักษณะฟ่าม ไม่ควรใช้เกิน 30% ในสูตรอาหารรำละเอียดมีคุณสมบัติเป็นยาระบาย โดยเฉพาะสูตรอาหารแม่สุกรอุ้มท้องและเลี้ยงลูก จะช่วยลดปัญหาแม่สุกรท้องผูก
         ข้าวโพด มีโปรตีนประมาณ 8% และมีเยื่อใยอยู่ในระดับต่ำ เป็นวัตถุดิบอาหารที่เหมาะในการผสมเป็นอาหารสุกร ข้าวโพดที่ดีควรเป็นข้าวโพดที่บดอย่างละเอียด ไม่มีมอดกิน ไม่มีสิ่งปลอมปน และที่สำคัญที่สุดจะต้องไม่ขึ้นรา (สารพิษอะฟลาท็อกซิน) และไม่มียาฆ่าแมลงปลอมปน ข้าวโพดสามารถใช้ทดแทนปลายข้าวได้ ข้อเสียในการใช้ข้าวโพดคือ มีเชื้อราและยาฆ่าแมลง เนื่องจากการเก็บเกี่ยว และการเก็บรักษาไม่ดีพอ
         ข้าวฟ่าง มีโปรตีนประมาณ 11% ข้าวฟ่างโดยทั่วไปจะมีสารแทนนิน ซึ่งมีรสฝาดอยู่ในระดับสูง สารแทนนินมีผลทำให้การย่อยได้ของโปรตีนและพลังงานลดลง ดังนั้นจึงเป็นข้อจำกัดในการใช้ข้าวฟ่าง
         มันสำปะหลัง ใช้เลี้ยงสัตว์ในรูปมันสำปะหลังตากแห้งที่เรียกว่า มันเส้น มีโปรตีนประมาณ 2% มีแป้งมาก มีเยื่อใยประมาณ 4% ข้อเสียของการใช้มันเส้น คือ จะมีลำต้น เหง้า และดินทรายปนมาด้วย ดังนั้นจึงควรเลือกใช้มันเส้นที่มีคุณภาพดี เกรดใช้เลี้ยงสุกร ส่วนหัวมันสำปะหลังสดไม่ควรนำมาใช้เป็นอาหารสัตว์ เพราะมีการพิษกรดไฮโดรไซยานิคในระดับสูงมาก และเป็นอันตรายต่อสัตว์ได้ วิธีการลดสารพิษทำได้ 2 วิธี คือ
ก.       ทำเป็นมันเส้น โดยหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ผึ่งแดดอย่างน้อย 3 แดด มันเส้นที่มีคุณภาพดี สามารถใช้ทดแทนปลายข้าวได้ ในกรณีปลายข้าวราคาแพง และมันเส้นราคาถูก (ปลายข้าว 1 กิโลกรัม เท่ากับมันเส้น 0.85 กิโลกรัม + กากถั่วเหลือง 0.15 กิโลกรัม)
ข.        ทำเป็นมันหมัก หมักในหลุม หรือถุงพลาสติก ควรหมักอย่างน้อย 1 เดือน ซึ่งจะลดปริมาณสารพิษกรดไฮโดรไซยานิคให้อยู่ในระดับที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุกร


อาหารประเภทไขมัน
ไขมันจากสัตว์ ได้แก่ ไขมันวัว ไขมันสุกร ส่วนไขมันจากพืช ได้แก่ น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันปาล์ม น้ำมันรำ เป็นต้น สาเหตุที่ต้องใช้ไขมันในสูตรอาหาร เพื่อเพิ่มระดับพลังงานในสูตรอาหารนั้นให้สูงขึ้น ส่วนใหญ่ใช้ในอาหารสุกรเล็ก โดยเติม 2-5 % ในอาหาร ข้อเสียของไขมันมักจะมีกลิ่นหืน และเก็บไว้ได้ไม่นาน
อาหารประเภทแร่ธาตุ และไวตามิน
        กระดูกป่น เป็นแหล่งของธาตุแคลเซี่ยมและฟอสฟอรัสที่ดีมาก แต่มีคุณภาพไม่แน่นอน
        
ไดแคลเซียมฟอสเฟส ให้ธาตุแคลเซียมและฟอสฟอรัสทำมาจากกระดูก หรือทำจากหิน โดยนำเอาหินฟอสเฟตมาเผา ปกติจะใช้ไดแคลเซียมฟอสเฟตที่มีฟอสฟอรัส 18% (P18) หรือสูงกว่า
        
เปลือกหอยบด ให้ธาตุแคลเซียมอย่างเดียว
       หัวไวตามินแร่ธาตุ หรือพรีมิกซ์ เป็นส่วนผสมของไวตามินและแร่ธาตุปลีกย่อยทุกชนิดที่สุกรต้องการ และพร้อมที่จะนำมาผสมกับวัตถุดิบ อาหารสัตว์อย่างอื่นได้ทันที พรีมิกซ์มีขายตามท้องตลาดทั่วไป
ข้อแนะนำในการเลือกใช้อาหารเลี้ยงสุกร
*   ผสมอาหารใช้เองในฟาร์ม ต้องรู้จักเลือกวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่มีคุณภาพดี วัตถุดิบตัวหลัก ๆ ได้แก่ กากถั่วเหลือง ปลาป่น ปลายข้าว ข้าวโพด รำละเอียด และไวตามินแร่ธาตุในรูปของพรีมิกซ์ แล้วนำวัตถุดิบมาผสมตามสูตรและความต้องการของสุกรแต่ละขนาด โดยใช้เครื่อง โดยใช้เครื่องผสมอาหาร หรือ ผสมด้วยมือก็แล้วแต่สะดวก โดยอาศัยหลักผสมจากส่วนย่อยที่มีปริมาณน้อย ๆ ก่อน แล้วจึงผสมเข้ากับส่วนใหญ่ วิธีนี้จะประหยัด สามารถเลือกใช้อาหารราคาถูกและหาได้ง่ายในท้องถิ่น เป็นการลดต้นทุนการผลิตได้มาก ซึ่งในเอกสารนี้ มีสูตรอาหารที่ใชเลี้ยงสุกรตั้งแต่สุกรนมจนถึงสุกรพ่อแม่พันธุ์
ใช้อาหารเม็ดสำเร็จรูป ตั้งแต่สุกรนม สุกรอ่อน สุกรเล็ก สุกรรุ่น สุกรขุน และสุกรพันธุ์ ข้อดีคือสะดวกในการใช้และจัดหา ซึ่งอาหารสำหรับสุกรแต่ละขนาด จะมีจำหน่ายตามท้องตลาด ข้อเสียคือ ราคาจะแพง และผู้ใช้ไม่ทราบชัดเจนว่าอาหารเม็ดสำเร็จรูปประกอบด้วยวัตถุดิบอะไรบ้าง
 ใช้หัวอาหารสำเร็จ (ส่วนใหญ่จะมีโปรตีนประมาณ 32-36 % และผสมไวตามินแร่ธาตุไว้ด้วยแล้ว) ใช้ผสมกับปลายข้าว ข้าวโพด รำละเอียด ตามอัตราส่วน น้ำหนักที่ระบุจำนวนวัตถุดิบข้างถุงอาหาร การใช้ในสุกรแต่ละขนาดให้คำนึงถึงเปอร์เซ็นต์โปรตีนในอาหารผสมด้วย