วันจันทร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

โปรแกรมการทำวัคซีน
ปฏิทินการถ่ายพยาธิสุกร
การถ่ายพยาธิสุกรเป็นสิ่งจำเป็นที่ควรทำในสุกรทุกตัว แม้ว่าสุกรตัวนั้นจะไม่เคยสัมผัสกับพื้นดิน หรือกินอาหารสดจากทุ่งหญ้า หรือเศษอาหาร ซึ่งเป็นแหล่งของพยาธิก็ตาม ทั้งนี้เพราะไข่พยาธิและตัวอ่อน อาจติดมากับพาหะ ได้หลายทาง ได้แก่ เศษดินที่ติดมากับรองเท้า การปนเปื้อนมากับอาหารหรืออุปกรณ์ อีกทั้งมากับแมลง เช่น ยุง หรือแมลงวัน ก็ได้
การถ่ายพยาธิภายในของสุกร (Internal parasite) ควรทำครั้งแรกเมื่อลูกสุกรหย่านมได้ สัปดาห์ ก่อนทำวัคซีนต่างๆ และทำซ้ำในระยะขุน เมื่อสุกรถูกย้ายเข้าคอกขุนได้ เดือน อายุประมาณ 12 สัปดาห์ สำหรับสุกรพันธุ์ทดแทนควรถ่ายพยาธิประมาณ สัปดาห์หลังจากย้ายเข้าคอกแม่พันธุ์ ที่อายุ 5 - 6 เดือน และทำครั้งต่อไปทุก เดือน หรือก่อนการเริ่มโปรแกรมการทำวัคซีน สัปดาห์ สำหรับการถ่ายพยาธิภายนอก เช่น โรคขี้เรื้อน (Sarcoptic mange) ควรทำก่อนย้ายแม่สุกรเข้าคอกคลอด เพื่อป้องกันการรบกวนของพยาธิภายนอกในลูกสุกร
วิธีการถ่ายพยาธิ อาจทำได้โดยผสมอาหารหรือการฉีด ยาถ่ายพยาธิที่นิยมได้แก่ Levamisol, Thiophanate, Fenbendazol, Cambendazole, Ivermectin เป็นต้น
นอกจากนี้ นิยมให้ยาถ่ายพยาธิ วันก่อนเริ่มโปรแกรมวัคซีนในแต่ละรอบ
ปฏิทินการให้วัคซีนสุกร
โรคระบาดสำคัญและควรทำวัคซีนป้องกันโรคระบาดตามโปรแกรมวัคซีนในสุกรระยะต่างๆ ดังนี้ โรคอหิวาต์สุกร (Swine fever หรือ Hog cholera) โรคปากและเท้าเปื่อย (Foot and Mouth Disease) โรคพิษสุนัขบ้าเทียม (Pseudo rabies หรือ Aujeszky's disease) โรคพาร์โว ไวรัส (Parvo virus) โรคโพรงจมูกอักเสบ (Atrophic rhinitis) โรคปอดอักเสบจากเชื้อมัยโคพลาสมา หรือเอ็นโซติกนิวโมเนีย (Enzootic Pneumonia)รวมถึงโรคระบาดอื่นๆซึ่งจำเป็นในบางท้องที่ เช่น โรคไฟลามทุ่ง(Swine erysipelas) โรคกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบติดต่อ (Transmissible gastroenteritis) โรคท้องร่วงติดต่อในลูกสุกร (Porcine epidemic diarrhea)
ตัวอย่างโปรแกรมวัคซีน ที่นิยมใช้ (กิจจา, 2537) มีดังนี้

ปฏิทินการทำวัคซีนพ่อพันธุ์  
SF การทำวัคซีนอหิวาต์สุกร ทุก เดือน
PV การทำวัคซีนพาร์โวไวรัส ทุก เดือน
FMD การทำวัคซีนป้องกันโรคปากเท้าเปื่อย ทุก 4-6 เดือน
AD(I) การทำวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้าเทียมด้วยวัคซีนเชื้อเป็น ทุก 4-6 เดือน
ปฏิทินการทำวัคซีนสุกรแม่พันธุ์ 
AD(k) ทำวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้าเทียมด้วยวัคซีนเชื้อตาย สัปดาห์ที่ ก่อนกำหนดคลอด
SF ทำวัคซีนอหิวาต์สุกรสัปดาห์ที่ ก่อนกำหนดคลอด
EP/AR ทำวัคซีนโรคโพรงจมูกอักเสบหรือโรคเอนซูติกนิวโมเนีย สัปดาห์ที่ ก่อน
กำหนดคลอด
FMD ทำวัคซีนป้องกันโรคปากเท้าเปื่อย สัปดาห์ที่ หลังคลอด
AD(I) ทำวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้าเทียมด้วยวัคซีนเชื้อเป็น สัปดาห์ที่ หลังคลอด
PV ทำวัคซีนพาร์โวไวรัส สัปดาห์ที่ หลังคลอด

ปฏิทินการทำวัคซีนลูกสุกร 
SF การทำวัคซีนอหิวาต์สุกรที่อายุครบ สัปดาห์
AD(I)1 การทำวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้าเทียมด้วยวัคซีนเชื้อเป็น ครั้งที่ 1
FMD การทำวัคซีนป้องกันโรคปากเท้าเปื่อย
AD(I)2 การทำวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้าเทียมด้วยวัคซีนเชื้อเป็น ครั้งที่ 2
ถ้าเป็นลูกสุกรพันธุ์ ควรทำด้วยวัคซีนเชื้อตาย
ปฏิทินการทำวัคซีนสุกรทดแทน 
ในสุกรทดแทนจะไม่สนใจว่าเคยทำวัคซีนอะไรมาบ้าง
จะเริ่มทำวัคซีนสุกรที่คัดเลือกที่อายุ 5.5 เดือนขึ้นไป
จัดโปรแกรมวัคซีนเรียงตามลำดับได้แก่ วัคซีนป้องกันอหิวาต์สุกร-SF โรคพิษสุนัขบ้าเทียมวัคซีนเชื้อเป็น-AD(I) โรคปากเท้าเปื่อย-FMD โพรงจมูกอักเสบหรือเอนซูติกนิวโมเนีย-AR/EP และพาร์โวไวรัส 2ครั้ง-PV1-PV2 โดยเว้นช่วงการทำวัคซีนแต่ละครั้ง 7-10 วัน
       

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น